วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วันอังคาร ที่ 30 กันยายน 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7


วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

อาจารย์ผู้สอน จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 30 เดือน กันยายน 2557

เวลาเรียน 08.30 - 12.20

**********************************************


กิจกรรมที่ทำในวันนี้

           วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานั่งตามเลขที่ของตนเองและอาจารย์ได้แจกกระดาษสีชมพูมาคนบะ 1 แผ่น ซึ่งอาจารย์ให้ตัดกระดาษแตกต่างกันแต่ละแถวจะไม่เหมือนกัน จากนั้นอาจารย์ได้แจกที่หนีบกระดาษมาคนละ 1 อัน ให้หนีบที่กระดาาไว้ จากนั้นให้แถวที่ 1 ออกมานำเสนอโดยการโยนให้กระดาษลอยจนตกพื้น วนทำจนถึงแถวสุดท้าย โดยสรุปดังนี้

กิจกรรมกังหันลม

อุปกรณ์

1. กระดาษ    2. กิ๊ฟหนีบกระดาษ

แถวที่ 1  กังหันแถวที่ 1 ได้หมุนเร็วและนาน เพราะเกิดจากการพับกระดาษที่ถูกลักษณะในการทำปีกเพื่อต้านกับอากาศให้สามารถลอยอยู่บนอากาศได้นานที่สุด

แถวที่ 2 กังหันแถวที่ 2 หมุนได้ไม่นานเพราะเกิดจากการพับกระดาษแต่ต่างจากแถวที่ 1 

แถวที่ 3 กังหันแถวที่3 ไม่ค่อยหมุนเกิดจากการพับกระดาษที่สั้นเกินไปไม่สามารถต้านลมได้เลยไม่หมุนนั้นเอง

แถวที่ 4 กังหันแถวที่ 4 ได้มีการปรับเปลี่ยนเนื่องจากได้สังเกตจากแถวที่ 1 2 3 ได้มีการตัดพับกระดาษที่ถูกและได้ทดลองก่อนที่จะมานำเสนอเพื่อนกังหันของแถวที่ 4 จึง ค่อนข้างลอยอยู่บนอากาศนานกว่าเพื่อน




กิจกรรมแกนทิชชู

อุกรณ์

1. แกนทิชชู    2. เชือก/ไหมพรหม  3.  กระดาษ    4.  สี   5.  ดินสอ  6. กรรไกร  7. กาว

ขั้นตอนการทำ

1. ตัดแกนทิชชูออกเป็น 2 ชิ้น
2. เจาะรูแกนทิชชูให้เป็น 2 รู แล้วนำเชือกมาร้อย
3. นำกระดาษตัดเป็นวงกลมตกแต่งให้สวยงาม
4. นำกระดาษมาติดกับแกนทิสชุเพื่อให้เกิดความสวยงาม

วิธีการเล่น

นำเชือกมาคล้องคอแล้วดึงเชือกสลับกันจะเกิดการที่แกนทิชชูเสียดสีกับเชือกแกนทิชชูจะขยับขึ้นตามเชือก หรือเล่นอย่างไรให้เกิดประโยนช์ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์


สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมนี้

ได้รู้สิ่งประดิษฐ์ที่แปลกใหม่ จากสิ่งของเหลือใช้ได้ประโยชน์จากการประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ในชั้นเรียน

การประเมินผล

ตนเอง : ได้ทดลองสิ่งประดิษฐ์ที่ตนเองทำเกิดความสนุกสนาน น่าสนใจกับสิ่งประดิษฐ์ที่ทำ และได้ออกไปนำเสนอผลงานที่ตนเองทำหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์เรียกไปทำอย่างไรให้สื่อที่ตนเองทำสามารถเล่นได้

เพื่อน : ได้ทำสิ่งประดิษฐ์ด้วยตนเองอย่างสนุกสนาน

ผู้สอน : ได้สอนวิธีการทำสื่อวิทยาศาสตร์ด้วยวัสดุเหลือใช้อย่างง่าย และได้บอกว่าสื่อนี้เล่นเป็นวิทยาศาตร์ได้อย่างไร




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น