วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วันอังคาร ที่ 2 ธันวาคม 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

อาจารย์ผู้สอน จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 2 เดือน ธันวาคม 2557

เวลาเรียน 08.30 - 12.20

**********************************************

กิจกรรมในวันนี้
       
         วันนี้เรียนคาบสุดท้าย อาจารย์ให้โอกาสนักศึกษาที่เหลือออกมาพูดสรุปเกี่ยวกับวิจัย และ โทรทัศน์ครู และวันนี้อาจารยืให้นักศึกษาจับกลุ่มตามแผนของตนเอง พร้อมแจกกระดาษ A 4 คนละแผ่นเพื่อทำแผ่นพับ โดยแต่ละกลุ่มช่วยกันทำงานและส่งชิ้นงานอาจารย์ 1 แผ่น โดยกลุ่มของดิฉันได้ทำ หัวข้อสานสัมพันธ์โรงเรียนอนุบาลโลมาสีชมพู เรียนในเรื่อง หน่วย มด   ดังนี้




ภาพเก็บตกกิจกรรม

กิจกรรมแผ่นพับ



วาดรูปตราโรงเรียนอนุบาลโลมาสีชมพู


เพื่อนๆ ออกไปสรุปวิจัย และโทรทัศน์ครู



ประเมินผล

ตนเอง : วันนี้ได้ช่วยเพื่อนทำกิจกรรมโดยการวาดรูปสัญญาลักษณ์โรงเรียน

เพื่อน  : เพื่อนๆ ในกลุ่มช่วยกันทำกิจกรรมทุกคน

อาจารย์  : วันนี้อาจารย์ได้แนะนำการนำเสนอ วิจัย และโทรทัศนืครุที่เพื่อนๆนำมา  และให้นักศึกษาตอบคำถามช่วนกันคิด เพื่อนให้เกิดการเรียนรู้ และเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับแผนเล็กน้อย


บ๊าย บ๊าย ปิด ครอสเรียนแล้ว เจอกัน เทอมหน้า เพื่อนๆ


วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วันอังคาร ที่ 25 พฤศจิกายน 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

อาจารย์ผู้สอน จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 25 เดือน พฤศจิกายน 2557

เวลาเรียน 08.30 - 12.20

**********************************************

กิจกรรมในวันนี้
       
         วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานำสื่อวิทยาศาสตร์อันเดิมมาส่ง เพื่อทบทวนสื่อว่าทำไมสื่อถึงเป็นวิทยาศาสตร์ ดิฉันได้ทำสื่อที่ชื่อว่า กระจกวิเศษ ซึ่ง เป็นสื่อวิทยาศาสตร์ที่เด่นชัดในเรื่องของแสง 



สื่อ กระจกวิเศษ



ภาพประกอบออกไปนำเสนอสื่อ




สรุปได้







กิจกรรม  น้ำแดงแช่งแข็ง

ภาพบรรยากาศการทำกิจกรรม




ประเมินผล

ตนเอง  :  วันนี้ออกไปนำเสนอสื่อ ชื่อ กระจกวิเศษ ที่ทำเกี่ยวกับสื่อวิทยาศาสตร์ในเรื่องของ แสง 
และได้ออกไปพูดสรุปวิจัย เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมกรเรียนแบต่อภาพ / ของ ลดาวรรณ ดีสม  การนำเสนออกมาดีพอสมควร

เพื่อน  :  เพื่อนออกไปนำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์ตนเอง และพูดสรุปเกียวกับวิจัยและโทรทัศน์ครู ดีพอควร และตื่นเต้นที่ได้ทำกิจกรรมท้ายคราบ เพราะเป็นการทดลองทำเอง และได้ทำทุกคน

อาจารย์  :  วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมมีนำเสนอท้ายคราบเพื่อดึงดูดความสนใจของนักศึกษา และนักศึกษาดีใจมากที่จะได้ทำกิจกรรมนี้เพราะได้ลองทำเองกับมือ และอาจารย์ได้สรุป แนะนำนักศุึกษาที่ออกมานำเสนอสื่อ และการพูดสรุปเกี่ยวกับวิจัย โทรทัศน์ครู วันนี้อาจารย์ยิ้มแย้ม แจ่มใสมากค่ะ 






วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปวิจัย / โทรทัศน์ครู

สรุปงานวิจัย


วิจัย
                                                                                    
ชื่อวิจัย      การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบต่อภาพ

ชื่อผู้วิจัย       ลดาวรรณ    ดีสม

นิยาม
    การเรียนแบบต่อภาพ
     หมายถึง   เทคนิคการเรียนแบบร่วมมืออย่างหนึ่งที่สมาชิกกลุ่มเหย้าแต่ละคนต้องไปศึกษาค้นคว้าในส่วนที่ได้รับมอบหมายร่วมกับเพื่อนในกลุ่มเหย้าอื่น  ซึ่งเป็นกลุ่มใหม่เรียกว่ากลุ่มผู้เชี่ยวชาญแล้วนำความรู้ที่ได้กลับมาสอนให้แก่สมาชิกกลุ่มเหย้าเดิม ได้เรียนรู้ภาพรวมทั้งหมด เพื่อให้เกิดมโนทัศน์ในเรื่องที่เรียนตามจุดประสงค์การเรียนการสอน

    กิจกรรมการเรียนแบบต่อภาพ
      หมายถึง  การสอนที่จัดกลุ่มเด็กเป็นกลุ่มละ กลุ่มละ 4 คน เรียกว่ากลุ่มเหย้าซึ่งสมาชิกในกลุ่มเหย้าทั้ง 4 คน จะได้รับมอบหมายให้ไปศึกษาเนื้อหาคนละส่วน โดยไปศึกษาร่วมกับเพื่อนในสมาชิกกลุ่มเหย้าอื่นที่ได้รับมอบหมายในเรื่องเดียวกัน ซึ่งเกิดเป็นกลุ่มใหม่ เรียกว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญนี้จะศึกษาเนื้อหาแตกต่างกันไปตามลักษณะของข้อมูลที่ได้รับในแต่ละหัวข้อย่อย โดยศึกษาจากสื่อ อุปกรณ์ที่ครูจัดเตรียมไว้ให้แล้วปรึกษาหารือกันเพื่อสรุปเป็นมโนทัศน์ในเรื่องที่ศึกษา พร้อมกับนำความรู้ที่ได้กลับไปเสนอต่อเพื่อนกลุ้มเหย้าเดิม ซึ่งความรุ้ที่สรปได้จากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและสมาชิกนำกลับมาเสนอต่อกลุ่มเหย้านั้น จะก่อให้ได้เกิดการเรียนรู้ภาพรวมทั้งหมดของเนื้อหาที่ต้องการให้เด็กเรียนรู้ในแต่ละวัน ซึ่งมีขั้นตอนการจัดกิจกรรมดังนี้

        ขั้นนำ
        เป็นกิจกรรมเตรียมเด็กเข้าสู่บทเรียนโดยการสนทนา ใช้คำถาม เพลง คำคล้องจอง ปริศนา คำทาย หรือสื่ออย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความต้องการและเกิดความสนใจที่จะเรียน

        ขั้นดำเนินการสอน
         กำหนดหัวข้อเรื่องที่ต้องเรียนในแต่ละวัน ครุชี้แจงจุดประสงค์และวิธีการเรียน ซึ่งดำเนินการจากกลุ่มเหย้าและกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และสรุปข้อความรู้ร่วมกันให้เป็นไปตรามหัวข้อเรื่องที่เรียนในแต่ละวัน

        ขั้นสรุป
         เด็กและครูร่วมกันสรุปข้อความรู้ในเรื่องที่เรียนโดยใช้กิจกรรมต่างๆ  เพื่อให้ได้มโนทัศน์ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ประจำวัน

ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
          การสังเกต   หมายถึง ความสามารถในการบอกความแตกต่าง บอกลำดับวัตถุ จัดสิ่งของให้เป็นหมวดหมู่ โดยใช้เกณฑ์ในการจัดแบ่ง เช่น ความเหมือน ความต่างหรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
         การวัด  หมายถึง   การใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึางวัดหาปริมาณของสิ่งต่างๆ เป็นหน่วยวัดที่มีหรือไม่มีมาตราฐานซึ่งอาจไม่มีหนวยกำกับก็ได้ เช่น นิ้ง คือ ศอก เป็นต้น รวมถึงการกะปริมาณความหนักเบาของวัตถุ
         การหามิติสัมพันธ์   หมายถึง  ความสามารถในการบอกความสัมพันธ์ระหว่างมิติต่างๆ ของวัตถุหรือตำแหน่งของวัตถุ ได้แก่ รูปทรง ขนาด ตำแหน่ง พื้นที่ สถานที่ และระยะทาง
        การลงความเห็นจากข้อมูล  หมายถึง  ความสามารถในการอธิบาย หรือแสดงความคิดเห็นหรือสรุปผลจากข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การวัด การสัมผัส หรือการทดลองได้อย่างมีเหตุผล



แหล่งที่มา : thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Ladawan_D.pdf






สรุปวิทยาศาสตร์จากโทรทัศน์ครู

  โทรทัศน์ครู 




โดยโทรทัศน์ สนุกวิทย์ ครูสง่า
โรงเรียน ดาราคราม

       โดยการปูพื้นฐานให้กับเด็กก่อน การสังเกต การสัมผัส แท่งโลหะ 1 แท่ง ครูต้องมีสื่อมาให้เด็กดูเพื่อให้เด็กได้สังเกตมองเห็นจริง ครูสง่า สอนเรื่องเสียง โดยเสียงเกิดขึ้นจากมวลเนื้อวัตถุ คลื่นเสียงเกิดจากการกระแทก การกระทบ จากการสั่นของวัตถุ

อุกรณ์
1. โลหะ 1 แท่ง
2. ซ้อม
3. สปริง
4. แก้วน้ำ

วิธีเล่น
1. น้ำโลหะมาตีซ้อม จะเกิดการสั้น
2. น้ำซ้อมที่สั่นจ่มลงกับแก้วน้ำ น้ำจะเกิดการสั่นสะเทือน
3. เด็กสังเกตการสั่นสะเทือนของผิวน้ำ

สรุป น้ำเกิดการสั้นเพราะซ้อมโดนโลหะตีและ ซ้อมก็จะเกิดเสียงเมื่อโดยวัตถุกระทบ





แหล่งที่มา  :  https://www.youtube.com/watch?v=FKc8nKOJUKE



วันพุธ ที่ 19 พฤศจิกายน 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

อาจารย์ผู้สอน จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 19 เดือน พฤศจิกายน 2557

เวลาเรียน 08.30 - 12.20

**********************************************

กิจกรรมในวันนี้

         วันนี้อาจารย์พูดถึงงานวิจัย การหาความหมายของทฤษฎีเกี่ยวกับงานวิจัย การหาโทรทัศน์ครูมาลงบล็อกและนำเสนออาทิตย์หน้า

ยกตัวอย่าง

วิจัย                                                                                              โทรทัศน์ครู 
- ชื่อวิจัย                                                                                             -  การส่งเสริม
- ชื่อผู้วิจัย                                                                                          -  แก้ไขอย่างไร            
- นิยาม - การทดลอง                                                                         -  ส่งเสริมวิธีใด    
- เครื่องมือ - ใช้อย่างไร                                                                     -  ขั้นตอนอย่างไร
- แผนการสอน ( สอนอย่างไร )                                                         -  เช่น ขั้นตอนการเกิดผล         


ต่อ

และเพื่อนได้ออกมาพูดในเรื่องของโทรทัศน์ครู เรื่อง ของเล่นของใช้

ต่อไปนำเสนอแผนต่อ


หน่วย ดิน ( ชนิด )
       เพื่อนได้ออไปนำเสนอต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว เพราะนำเสนอไม่เข้าใจอาจารย์ให้มานำเสนอต่อสัปดาห์นี้ โดยอาจารย์ได้บอกขั้นตอนในการสอน เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและปรับใช้อย่างถูกต้อง



หน่วย สัปรด ( ประโยชน์และโทษ )

        เพื่อนได้ออกไปนำเสนอแผนต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว เพราะเพื่อนทำผิด ได้ออกมานำเสนอใหม่ ดยอาจารย์คอยช่วยบอกขั้นตอนการนำเสนอ โดยมีขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุป เพื่อให้นักศึกษาได้รู้ข้อเท็จจริงในการนำเสนอ




ต่อ

หลังจากนำเสนอแผนเสร็จอาจารย์ได้เตรียมอุปกรณ์ให้นักศึกษาทำขนมฟาลเพิล โดยให้นักศึกษาเป็นคนทำเอง ตอนแรกอาจาย์เป็นคนสอนขั้นตอนวิธีการทำให้นักศึกษาเข้าใจก่อน และให้นักศึกษาแบ่งเป็นกลุ่ม 3 กลุ่ม ทำขั้นตอนขนมฟาลเฟิลเอง

รูปกิจกรรมการทำขนมฟาลเฟิล


ขั้นตอนการทำขนมฟาลเฟิล





การประเมินผล

ตนเอง : วันนี้มีความสุขเพราะได้ขนมฟาลเฟิลด้วยตนเอง และสนุกไปกับกิจกรรมที่อาจารย์สอน

เพื่อน : วันนี้เพื่อนๆ ดีใจที่ได้ลองทำขนมเอง และเห็นเพื่อนบอกอยากให้อาจารย์ทำขนมทุกชั่วโมงเพื่อไม่ให้เบื่อต่อกรเรียนทฤษฎีมากเกินไป ผ่อนคลายบ้าง

ผู้สอน :  วันนี้อาจารย์ดูมีความสุขในการสอน เพราะได้นำอุปกรณ์การทำขนมฟาลเฟิลมาให้นักศึกษาทำ และไม่ทิ้งการสอนทฤษฎีในชั่วโมงการเรียน บอกและแนะนำขั้นตอนการสอนแผนให้นักศึกษาเสมอ


วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วันอังคาร ที่ 11 พฤศจิกายน 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

อาจารย์ผู้สอน จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 11 เดือน พฤศจิกายน 2557

เวลาเรียน 08.30 - 12.20

**********************************************

กิจกรรมในวันนี้

         วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษากลุ่มที่เหลือนำเสนอแผนต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยมีแผนหน่วย ส้ม สัปรด ทุเรียน มด ดิน และ น้ำ และกิจกรรมสุดท้าย อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำกิจกรรมแผน เรื่อง ไข่ ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว ดังนี้

หน่วย ส้ม (ชนิด)

ขั้นนำ    ครูร้องเพลงส้ม 1 รอบ แล้วให้เด็กร้องตาม

ขั้นสอน    ครูให้ใช้คำถามกับเด็กว่ารู้จักส้มกันบ้างหรือเปล่า เด็กเคยเห็นส้มที่ไหนบ้าง และส้มมีกี่ชนิด อะไรบ้าง
                โดยใช้คำถามปลายเปิดกับเด็ก และให้เด็กได้ออกมาทำกิจกรรมที่ครูได้จัดไว้ให้

ขั้นสรุป   ครูและเด็กร่วมกันสรุปกิจกรรมส้มโดยให้เด็กบอกชนิดของส้ม มีอะไรบ้าง



หน่วย  ทุเรียน (ลักษณะ)

ขั้นนำ   ครูใช้คำถามเด็กว่ามีผลไม้อะไรบ้างเอ่ย มีหนาวมแหลมๆ แหวกออกมามีสีเหลืองๆ ขาวๆ มีกลิ่นหอมๆ                  บางคนก้เหม็น

ขั้นสอน   ครูนำทุเรียนมาให้เด็กดู จึงใช้คำถามถามเด็ก จากนั้นครูให้เด็กสังเกตทุเรียนที่ครูนำมา จะมีหมอนทอง                 และ ชะนี แล้วถามเด็ก เด็กๆบอกครูสิค่ะ ทุเรียนหมอนทองมีสีอะไรบ้าง และทุเรียนชะนีมีสีอะไรบ้าง มี                  ลักษณะต่างกันอย่างไร

ขั้นสรุป   ครูและเด็กช่วยกันสรุปกิจกรรม


หน่วย สัปรด (ประโยนช์)

ขั้นนำ    ครูถามเด็กว่าสัปรดมีประโยชน์อย่างไร สัปรดสามรถทำอะไรได้บ้าง

ขั้นสอน    ครูเตรียมอุปกรณ์การทำกิจกรรม และถามเด็กว่ารู้จักอุปกรณ์ที่อยู่บนโ๖๊ะหรือเปล่า ให้เด็กบอกชื่อ                        อุปกรณ์ ครูบอกเด็กว่าสัปรดมีประโยชน์มากมายวันนี้ครูจึงจะให้เด็กๆมาทำน้ำสัปรดกัน โดยครูจะเป็น                  คนสาธิตวิธีทำให้เด็กดูก่อนแล้วจากนั้นให้เด็กจับเป็นกลุ่มแล้วออกมาทำ 4-5 คน เด็กได้ลงมือทำเอง

ขั้นสรุป   ครูได้ซักถามเด็กว่าประโยชน์ของสัปรดมีอะไรบ้าง และให้เด็กตอบตามจินตนาการตนเอง



หน่วย มด (ลักษณะ)

ขั้นนำ   ครุร้องเพลงมดให้เด็กฟัง 1 รอบ แล้วให้เด็กร้องตามครู

ขั้นสอน   ครุเตรียมรุป มดดำและมดแดงมาให้เด็กดู ครูได้ถามเด็กว่ามดมีสีอะไร มดมีลักษณะอะไร ไหนเด็กๆ                     ลองบอกครูหน่อยสิค่ะ เด็กได้บอกลักษณะของมด ครูได้ยกตัวอย่างมดดำและมดแดงให้เด็กดูให้เด็ก                ได้บอกลักษณะของมดแดงและมดดำ ครูได้เขียนตารางเปรียบเทียบให้เด็กดู

ขั้นสรุป   ครูและเด็กร่วมร้องเพลงมดอีกครั้ง จากนั้นได้ร่วมกันสรุปกิจกรรมครั้งนี้



หน่วย น้ำ

ขั้นสอน  ครูถามเด็กว่าอุปกรณ์อยู่บนโต๊ะมีอะไรบ้าง เด็กรู้จักกันหรือเปล่า เด็กช่วยกันตอบ

ขั้นสอน  ครูเตรียมอุปกรณ์มาให้เด็กดูและได้สาธิจเกี่ยวกับเรื่องน้ำ

     -  ครูเทน้ำจากขวดใส่แก้วกาแฟ เทใส่ขวดน้ำ และได้เทใส่ถ้วย ที่เตรียมมา ให้เด็กสังเกตปริมาณน้ำที่แตกต่างกัน
     - ครูเทน้ำใส่ถุง แล้วหมุนถุงไปมาจะเกิดน้ำไหนขึ้นลง เทน้ำใส่ขวดแล้ววางเป็นแนวนอนแล้วเอียงซ้ายเอียงขวาเพื่อให้เด็กสังเกตน้ำจะลงจากที่สูงไปต่ำเสมอ
     - นำเชือกทั้ง 2 มาติดกับน้ำแข็งแล้วเอาน้ำแข็งประกบไว้ อีกเส้นนึงจะเทเกลือใส่น้ำแข็ง แล้วดึงขึ้นเด็กสังเกตได้ว่าน้ำแข็งที่มีเกลือใส่จะติดกัน ส่วนที่ไม่มีเกลือจะหลุดจากเชือก
     - น้ำแข็งกับโหลแก้ว แล้วจุดเทียนไว้ใต้ก้นแก้วแล้วให้เด้กสังเกต จะเห็นน้ำแข็งละลายแล้วระเหยเป็นไอน้ำ ซึ่งเกิดจากความร้อน

ขั้นสรุป   ครูและเด็กช่วยกันสรุปกิจกรรมครั้งนี้



หน่วย ไข่ (ประโยชน์)



**  กิจกรรมนี้เพื่อนๆในห้องช่วยกันทำก่อนจบคราบเรียน


การประเมินผล

ตนเอง : ตั้งใจนำเสนอแผนหน่วยเรื่อง มด แต่ทำออกมาไม่ค่อยดีเพราะเสียงติดๆขัดๆ เนื่องจากไม่สบาย

เพื่อน : ตั้งใจนำเสนอแผนของตนเอง และตั้งใจฟังครุแนะนำจากข้อผิดพลาดของแผนตนเอง

ผู้สอน :  แนะนำขั้นตอนการสอนแผนให้กับนักศึกษาเพื่อให้ถูกวิธี เพื่อนที่จะสามรถนำไปเขียนสอนแผนในการฝึกออกสอนที่ถูกต้อง




วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วันอังคาร ที่ 4 พฤศจิกายน 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

อาจารย์ผู้สอน จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 4 เดือน พฤศจิกายน 2557

เวลาเรียน 08.30 - 12.20

**********************************************

เนื้อหาเรียนในวันนี้

       วันนี้อาจารย์ได้สอบเกี่ยวกับแผนต่อเนื่องจากอาทิตย์ที่ผ่านมา และได้แจกแผนการจัดประสบการณ์ของรุ่นพี่เกี่ยวกับหน่วยของเรื่อง สัตว์ (แผนรวมทั้ง 5 วัน ) แต่ละกลุ่มให้ศึกษาดูว่าเป็นยังไง และนำไปปรับใช้ในแผนของเราที่ยังไม่สมบูรณ์

กิจกรรมที่ทำในวันนี้

       อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกไปนำเสนอแผนของตัวเอง กลุ่มของดิฉัน คือกลุ่ม มด  แต่ได้กลับมาปรับปรุงค่อยนำเสนออาทิตย์หน้า

กลุ่มเพื่อน 

การสอนของวันที่ 5 ประโยชน์ของข้าว



ขั้นนำ   
      คุณครูร้องเพลงแล้วให้เด็กหลับตา เมื่อเด็กหลับตาคุณครูนำภาพจิ๊กซอร์มาวางที่โต๊ะเด็กโดยสุ่มวาง พอร้องจบให้เด็กลืมตาขึ้นแล้วถามเด็กๆว่าภาพที่ได้คืออะไรพอเด็กตอบ ก็บอกเด็กๆว่าวันนี้เราจะมาทำชูชิกันนะค่ะ

ขั้นสอน 
- คุณครุใช้คำถามกับเด็กว่าอุปกรณ์ที่ทำวันนี้มีอะไรบ้าง เด็กๆรู้จักอุปกรณ์หรือเปล่า และอธิบายเกี่ยวกับหน้าที่ของชูชิ
- คุณครูสาธิตการทำชูชิให้เด็กดู
- แบ่งเด็กออกเป็นกลุ่มเพื่อทำชูชิ ถ้าเด็กเยอะก็แบ่งตัวแทนออกมาทำกลุ่มละ 3 - 5 คน
- คูรครูให้เด็กนำภาพชูชิแต่ละหน้าที่เด็กชอบมาติดลงในตาราง แล้วนับจำนวนว่าชอบอันไหนมากกว่ากัน

ขั้นสรุป
     ครูและเด็กช่วยกันนับจำนวนชูชิแต่ละหน้าว่าชอบอันไหนมากกว่ากัน


หน่วยไข่ ประโยชน์ของไข่

ภาพกิจกรรม



หน่วยกลัวย ประโยชน์ของกล้วย

ภาพกิจกรรม


หน่วยกบ

ภาพกิจกรรม



การประเมินผล

ตนเอง : วันนี้กลุ่มของดิฉันยังไม่พร้อมนำเสนอเพราะทำแผนยังไม่สมบูรณ์ แต่เตรียมพร้อมสื่มมานำเสนอ วันนี้ตั้งใจฟังกลุ่มเพื่อนนำเสนอดี

เพื่อน : ส่วนมากเพื่อนยังไม่พร้อมนำเสนอ เนื่องจากอาจจะติดที่เขียนแผนยังไม่สมบูรณ์พอ แต่เพื่อนบางกลุ่มก็พร้อมนำเสนอและออกมาดี

ผู้สอน : อาจารย์ได้แนะนำเกี่ยวกับการสอนแผน การเขียนแผนให้ถูกวิธีซึ่งเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาอย่างมากและให้คำแนะนำการเขียนแผนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

วันอังคาร ที่ 28 ตุลาคม 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

อาจารย์ผู้สอน จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 28 เดือน ตุลาคม 2557

เวลาเรียน 08.30 - 12.20

**********************************************

เนื้อหาเรียนในวันนี้

         วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาได้ทดลองเกี่ยวกับเรื่องน้ำ ซึ่งอาจารย์ได้เตรียมอุปกรณ์มาให้นักศึกษาได้ทดลองหลายวิธี ในการทดลองนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาได้ออกมาทดลองทีละแถวเพื่อให้ได้ทดลองกันครบทุกคน

กิจกรรมที่ทำในวันนี้




กิจกรรมที่ 1  การทดลองกระดาษกับน้ำ


สิ่งที่เกิดขึ้น

     เมื่อนำกระดาษที่เราตัดเป็นดอกไม้แล้วน้ำมาพับเป็นวงกลมแล้วนำไปวางใส่น้ำสังเกตกระดาษที่พับเป็นวงกลมจะเริ่มคลายกรีบออกจนครบทุกกลีบกระดาษไม่จมน้ำ เป็นเพราะกระดาษเกิดการดูดซึมน้ำทีละนิดเกิดการขยาดออกทีละกลีบเพราะกระดาษมีความหนาแน่น้อยกว่าน้ำจึงไม่สามารถจมน้ำได้



กิจกรรมที่ 2  การทดลองเกี่ยวกับดินน้ำมันแบบก้อน / แบบแผ่น กับน้ำ

สิ่งที่เกิดขึ้น
      เมื่อเรานำดินน้ำมันมาปั้นเป็นวงกลมแล้วนำไปทิ้งลงน้ำปรากฎว่าดินน้ำมันจม เมื่อเราลองเปลี่ยนวิธีนำดินน้ำมันเป็นแผ่นแล้วน้ำไม่ทิ้งลงน้ำปรากฎว่าดินน้ำมันยังจมเหมือนเดิม เป็นเพราะว่าดินน้ำมันหนาแน่เกินไปไม่สามารถลอยตัวบนน้ำได้

กิจกรรมที่ 3  การทดลองเกี่ยวกับการปล่อยน้ำผ่านสายยาง



สิ่งที่เกิดขึ้น

      เมื่อเรานำเอาสายยางข้างหนึ่งไปใส่ขวดน้ำ ส่วนหนึ่งไปวางใส่ถ้วย เมื่อเราดูดน้ำเพื่อให้น้ำไหลเราจะสังเกตเห็นว่าถ้วยที่วางน้ำจะไหนออกช้ามาก แต่เมื่อเอาถ้วยไปวางต่างระดับน้ำจะไหลแรงกว่าปกติ เพราะคุณสมบัติของน้ำคือจะไหลจากที่สูงลงไปที่ต่ำเสมอ เมื่อน้ำอยู่ในระดับเดียวกันน้ำจะอยู่ในระดับเดียวกัน

กิจกรรมที่ 4  การทดลองปากกากับน้ำ




สิ่งที่เกิดขึ้น 

      เมื่อเราเทน้ำใส่แก้วแล้วนำเอาปากกามาวางใส่แก้วแล้วสังเกตจะเห็นว่าปากกาใหญ่ขึ้นกว่าเดิม และยังสังเกตว่าน้ำเพิ่มระดับขึ้น และจะสั้งเกตเห็นว่ารูปทรงปากาเกิดการหักเหเหมือนว่าปากกาหักนั้นเอง


การประเมินผล

ตนเอง : วันนี้ไม่สามารถไปเรียนได้เนื่อจากพึ่งกลับมาจากต่างจังหวัด และไม่สบาย ติดตามผลงานจากเพื่อนเพื่อทำบล็อกเพิ่มเติม

เพื่อน : ตั้งใจทำกิจกรรมในครั้งนี้มาก

ผู้สอน : อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับแผนแต่ละหน่ยว บอกถึงแนวทางการเขียนแผนการเรียงลำดับการเขียนแผน การสอนให้สอดคล้องกับหน่วยเพื่อให้ถูกวิธี